วันอาทิตย์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อาหารพื้นเมืองไทย

ซุปหน่อไม้

หน่อไม้เป็นอาหารที่นิยมในทุกภาค คนไทยนำหน่อไม้มาลวกหรือต้มให้สุกก่อนที่จะนำมารับประทานไม่นิยมรับประทานสดๆ เข้าใจว่ารสชาติคงสู้หน่อไม้ลวก หรือต้มไม่ได้เพราะหน่อไม้ดิบจะออกรสขื่นขม อีกประการหนึ่งเนื่องจากหน่อไม้มีไซยาไนด์อยู่จำนวนมากหากรับประทาน ดิบๆ อาจเกิดการตกค้างในร่างกายได้ คนสมัยก่อนนิยมทำให้สุกก่อน เพื่อให้ไซยาไนด์มีจำนวนน้อยลงแต่เขาไม่สามารถอธิบายเหตุผลนี้ได้ นี่ถือได้ว่าเป็นภูมิปัญญาอันหนึ่งของคนไทย
การนำหน่อไม้มาปรุงอาหารนั้น มีด้วยกันหลายวิธี เช่น นำไปลวกหรือต้มรับประทานเป็นผักจิ้มร่วมกับน้ำพริกหลากหลายชนิดได้ หรือนำไปปรุงเป็นอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงจืด แกงเผ็ด แกงคั่ว ผัดเผ็ด เป็นต้น นอกจากนี้คนไทยยังมีวิธีถนอมอาหารเพื่อเก็บหน่อไม้ไว้รับประทานนอกฤดูกาล โดยทำเป็นหน่อไม้ดองหรือหน่อไม้ปี๊บ (หน่อไม้ต้มและบรรจุในภาชนะปิดมิดชิด)
ซุปหน่อไม้ เป็นอาหารอีกประเภทหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีและแพร่หลายในทุกภาค เนื่องจากมีกรรมวิธีการทำที่ง่ายและไม่ยุ่งยาก
หน่อไม้รวกขูดเป็นเส้นฝอย
300 กรัม
ใบย่านาง
20 ใบ (15 กรัม)
น้ำคั้นจากใบย่านาง
2 ถ้วย
น้ำปลาร้า
½ ถ้วย (50 กรัม)
เกลือ
½ ช้อนชา (4 กรัม)
น้ำปลา
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
มะนาว
2–3 ช้อนโต๊ะ (45 กรัม)
ผักชีฝรั่งซอย
2 ต้น (7 กรัม)
ต้นหอมซอย
2 ช้อนโต๊ะ (30 กรัม)
ใบสะระแหน่เด็ดเป็นใบ
½ ถ้วย (50 กรัม)
งาขาวคั่ว
1 ช้อนชา (8 กรัม)
พริกป่น
1 ช้อนชา (8 กรัม)
ข้าวเหนียว
1 ช้อนโต๊ะ (15 กรัม)
1. นำหน่อไม้สดมาเผาไฟให้สุกลอกเปลือกที่ไหม้ไฟออกและล้างน้ำให้สะอาด นำหน่อไม้มาขูดด้วยปลายมีด หรือส้อมทำให้เป็นเส้นยาวๆ 2. นำใบย่านางล้างให้สะอาด โขลกและนำมาคั้นกรองเอาน้ำที่ข้นจัด 2 ถ้วย 3. นำข้าวเหนียวที่แช่น้ำสักครู่มาโขลกให้ละเอียด 4. นำเครื่องปรุงที่เตรียมจากข้อ 1-3 ใส่ในหม้อ คนให้เข้ากันยกขึ้นตั้งไฟจนเดือดสักครู่ใส่น้ำปลาร้า เกลือ น้ำปลา ยกลงและทิ้งไว้ให้หายร้อนหรือขณะยังอุ่นอยู่ 5. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว พริกป่น คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตักใส่จานโรยหน้าด้วยงาคั่ว ต้นหอม ผักชีฝรั่ง ใบสะระแหน่ รับประทานกับผักสด
1. หน่อไม้ มีรสขมหวานร้อน - ราก รสอร่อยเอียนเล็กน้อย ใช้ขับปัสสาวะ แก้ไตพิการ - ใบไผ่ เป็นยาขับฟอกล้างโลหิตระดูที่เสีย 2. ย่านาง มีรสจืดทั้งต้นนำมาปรุงเป็นยาแก้ไข้กลับ - ใบ ใช้เป็นยาถอนพิษ ปรุงรวมกับยาอื่นแก้ไข้ - ราก แก้เบื่อเมา กระทุ้งพิษไข้ แก้เมาสุรา ถอนพิษผิดสำแดง 3. มะนาว เปลือกผลรสขม ช่วยขับลม น้ำในลูกรสเปรี้ยว แก้เสมหะ แก้ไอ แก้เลือดออกตามไรฟัน ฟอกโลหิต 4. ผักชี ช่วยละลายเสมหะ แก้หัด ขับเหงื่อ ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ เจริญอาหาร 5. ต้นหอม - ใบ รสหวานเผ็ดเค็มฉุน แก้ไข้หวัดคัดจมูก น้ำมูกไหล แก้โรคตา แก้ไข้กำเดา 6. สะระแหน่ - ใบ/ยอดอ่อน รสหอมร้อน ขับเหงื่อ แก้ปวดท้อง ขับลมในกระเพาะลำไส้ แก้จุกเสียดแน่นเฟ้อ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อ 7. งา - เมล็ด รสฝาดหวานขม ทำให้เกิดกำลัง ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย - น้ำมัน รสฝาดร้อน ทำน้ำมันใส่แผล 8. พริกขี้หนู รสเผ็ดร้อน ช่วยเจริญอาหาร ขับลม ช่วยย่อย 9. ข้าวเหนียว รสมัน หอมหวาน บำรุงร่างกาย แก้ตาฟาง แก้เหน็บชา แช่น้ำตำเป็นแป้งพอกแก้ปวด
ซุปหน่อไม้เป็นอาหารที่ช่วยให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น เนื่องจากหน่อไม้มีเส้นใย และกากอาหารมาก
ซุปหน่อไม้ 1 ชุด ให้พลังงานต่อร่างกาย 480 กิโลแคลอรี ประกอบด้วย - น้ำ 425.7 กรัม - โปรตีน 30 กรัม - ไขมัน 21.946 กรัม - คาร์โบไฮเดรต 40 กรัม - กาก 9.628 กรัม - แคลเซียม 284.4 มิลลิกรัม - ฟอสฟอรัส 247.07 มิลลิกรัม - เหล็ก 14.587 มิลลิกรัม - เบต้า-แคโรทีน 0.6 ไมโครกรัม - วิตามินเอ 9209.3 IU - วิตามินบีหนึ่ง 0.8251 มิลลิกรัม - วิตามินบีสอง 1.3 มิลลิกรัม - ไนอาซิน 46.65 มิลลิกรัม - วิตามินซี 36.5 มิลลิกรัม

อ้างอิง สถาบันการแพทย์แผนไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น